Head Injury

 


แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม จัดทำโดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
โดยความร่วมมือจาก สมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย
 


บาดเจ็บที่ศีรษะ ( Head  Injury )

บทนำ

      การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุตายที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกประเภท จากสถิติของกองสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2535 มีผู้ป่วยทั่วประเทศที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุและสารพิษทั้งสิ้น 27,811 คน เป็นผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บที่ศีรษะสูงถึง 11,113 คน และมีผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ จากอุบัติเหตุทางการจราจร เป็นจำนวนถึง 174,344 คน ซึ่งจะเห็นว่าเป็นจำนวนผู้ป่วยที่สูงมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ   สำหรับการอภิบาล ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะให้ได้ผลดีขึ้นนั้น การตรวจวินิจฉัยและการรักษา จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนและเหมาะสม และต้องการความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้มีการปรับปรุงพัฒนาการอภิบาลผู้ป่วยดีขึ้น

ทางสมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะขึ้น เพื่อให้ผู้ให้การรักษาพยาบาล ปฏิบัติตามแนวทางที่เสนอแนะนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และสิ่งสำคัญคือสามารถตรวจสอบและปรับปรุงพัฒนาได้ อย่างไรก็ตาม แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะไม่ใช่คัมภีร์ที่ต้องปฏิบัติตามเสมอ แต่เป็นเพียงแนวคิด ที่ประมวลจากผู้รู้และมีประสบการณ์ทางประสาทศัลยศาสตร์  ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ตามกาลเวลาและสภาวะที่เหมาะสม  

แนวทางการรักษาพยาบาลนี้จัดทำขึ้นโดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์แต่ละสาขาได้ร่วมกันให้ความคิดเห็น  ร่าง แก้ไข และสรุป จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ศัลยแพทย์และแพทย์ทั่วไป ได้ใช้เป็นหลักในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านศัลยกรรมที่พบบ่อย และ/หรือมีความสำคัญ  กับเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้ทันต่อยุคสมัย  เพื่อให้การรักษามีมาตรฐาน  เขียนในลักษณะของ managed care guideline มิใช่ตำรา  คณะผู้จัดทำประกอบด้วย  พล.อ.ท.นพ.กิตติ เย็นสุดใจ เป็นประธาน  พ.อ.นพ.วิบุล สัจกุล   ศ.นพ.วิวัฒน์  วิสุทธิโกศล  รศ.นพ.สมบูรณ์  บุญเกษม  ศ.นพ.ธนิต  วัชรพุกก์  ศ.นพ.พิชัย บุณยะรัตเวช  นพ.สุขวัฒน์ วัฒนาธิษฐาน  พอ.นพ.พร้อมพงษ์  พีระบูล ซึ่งเป็นผู้แทนกลุ่มศัลยแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขาเป็นกรรมการ  ศ.นพ.สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เป็นเลขานุการและบรรณาธิการ


ความหมาย

การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงที่เข้ามากระทบต่อศีรษะและร่างกายแล้วก่อให้เกิดความบาดเจ็บต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ และ สมอง กับเส้นประสาทสมอง (Head injury mean complex mechanical loading to the head and / or the body that cause the injuries to the scalp and skull and brain and cranial nerve)

การแบ่งระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ (severity of head injury)
แนะนำให้ใช้คะแนนของ Glasgow Coma Scale (GCS) เป็นหลักในการแบ่งความรุนแรง ดังต่อไปนี้

  1. การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย (Mild or minor head injury)       GCS  =  13-15
  2. การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลาง (Moderate head injury)      GCS  =    9-12
  3. การบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง (Severe head injury)           GCS  <    8

สำหรับรายละเอียดวิธีการคิดคะแนน GCS ดูจาก Appendix I

แนวทางการเลือกตรวจวิเคราะห์ (Investigation) ที่เหมาะสม

      เพื่อให้แพทย์ผู้ดูแลรักษาได้เลือกวิธีการ investigation ที่เหมาะสม  ไม่มากเกินความจำเป็น  ขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยจนอาจเกิดผลเสียแก่ผู้ป่วย   มีข้อควรพิจารณาสำหรับการเลือกตรวจแต่ละชนิดดังนี้

การตรวจทางรังสีวิทยา (radiological evaluation)

ที่สำคัญได้แก่ การถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะ (skull X-ray)  มีข้อบ่งชี้ ดังต่อไปนี้

  • Loss of consciousness or amnesia at any time
     
  • Abnormal neurological symptoms and signs
     
  • Suspected penetrating injury
     
  • Suspected skull fracture
     
  • Evidence of basilar skull fractures

ในรายที่พิจารณาว่าจะส่งตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะ

การตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์  (computerized tomography (CT) scan)

การตรวจมีประโยชน์มาก   แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง  ดังนั้นให้เลือกตรวจในรายต่อไปนี้ คือ

  • All moderate and severe head injury
  • Mild head injury with herniation syndrome
  • During observation CT is indicated or repeated in the following conditions
    • Deterioration of consciousness (GCS ลดลง 2 หรือมากกว่า)
    • Development of pupillary asymmetry or hemiparesis
       
    • Cushing response (ความดันโลหิตสูงขึ้น แต่ชีพจรเต้นช้าลง)
       
    • Worsening neurological sign and symptom

นอกจากนั้น  ยังแนะนำให้เลือกใช้วิธีตรวจนี้ในรายที่มี

  • Depressed skull fracture
  • Focal neurological deficit
  • Penetrating cranial injury
  • Evidence or basilar skull fracture

 

การตรวจด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก MRI (Magnetic resonance imaging) ของสมอง
       เนื่องจากการตรวจวิธีนี้  ต้องใช้เวลาในการตรวจนาน และอาจมีผลต่อเครื่องช่วยชีวิตต่างๆ ที่ใช้ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเฉียบพลันขณะทำการตรวจ ดังนั้น   จึงไม่มีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเฉียบพลัน   แต่จะมีประโยชน์ในบางกรณีที่การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ไม่สามารถบ่งบอกพยาธิสภาพได้ในขณะที่ผู้ป่วยมีสภาพไม่ดี

การถ่ายภาพรังสีของกระดูกสันหลังส่วนคอ  (Radiographic cervical spine evaluation) มีข้อบ่งชี้ในรายต่อไปนี้

  1. มีอาการปวดคอ หลังได้รับบาดเจ็บ
  2. Posterior cervical spine tenderness
  3. Limitation of active movement of neck
  4. มีอาการและอาการแสดงของการบาดเจ็บต่อไขสันหลังและเส้นประสาทสันหลัง (spinal cord or nerve roots injury)
  5. ในรายที่ความรู้สึกตัวไม่ดีเพียงพอ ที่จะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอได้ แต่มีลักษณะการบาดเจ็บหรือมีพยาธิสภาพที่สงสัยว่าอาจมีบาดเจ็บ

วิธีการถ่ายภาพรังสีของกระดูกสันหลัง C-Spine ให้ถ่ายในท่า cross table lateral view with arms traction  ส่วนการถ่ายภาพท่าอื่น ๆ เลือกทำเป็นราย ๆ ในรายที่สงสัยพยาธิสภาพในบางตำแหน่ง


แนวทางในการรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บต่อศีรษะ การดูแลรักษาในห้องฉุกเฉิน   ประกอบด้วย

  1. การดูแลระบบทางเดินหายใจ (Airway and respiratory support)  ผู้ป่วยที่มี GCS < 8 ทุกรายต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ  และช่วยหายใจ (intubated and assisted ventilation)
  2. การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต   แก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำ (hypotension- systolic blood pressure < 90 mmHg)  ต้องหลีกเลี่ยงภาวะ Hypoxia และ Hypercarbia และแก้ไขภาวะดังกล่าวถ้าเกิดขึ้นอย่างทันที
  3. ภาวะบาดเจ็บร่วมอื่น ๆ ที่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต เช่น   tension pneumothorax, cardiac temponade, hypovolemic shock  ต้องพยายามวินิจฉัยให้ได้  และให้การรักษาอย่างทันท่วงที  
  4. การตรวจประเมินทางประสาทวิทยา (neurological evaluation) โดยเฉพาะการตรวจว่ามีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงซึ่งต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไข  
  5. ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวทุกราย  ต้องทำ neck immobilization ไว้จนกว่าจะตรวจสอบดูแล้วว่าไม่มีภาวะบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ   เพราะอาจเกิดอันตรายถึงแก่อัมพาตหรือเสียชีวิตได้  ถ้าไม่ระมัดระวัง

เกณฑ์สำหรับการรับเป็นผู้ป่วยในหรือสังเกตอาการในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ (Criteria for admission or observation in head injury)
การรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเข้าเป็นผู้ป่วยในหรือสังเกตอาการให้ใช้เกณฑ์ต่อไปนี้คือ

  • ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลางและระดับรุนแรงทุกราย
  • ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยแต่มีอาการและอาการแสดงหรือสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
    • ปรากฏอาการแสดงของ focal neurological deficit
    • มีอาการชักหลังได้รับบาดเจ็บ (post traumatic seizure)
    • มีกะโหลกศีรษะแตกร้าว  (skull fractures) หรือมีบาดแผลชนิดที่ทะลุเข้าสู่สมอง (intracranial penetrating wounds)
    • ความรู้สึกตัวไม่ดีเต็มที่เหมือนปกติ (not fully alert)  หรือในรายที่มึนเมาจากการเสพสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาหรือยาที่มีผลต่อความรู้สึกตัว  หรือในเด็กซึ่งไม่สามารถประเมินภาวะความรู้สึกตัวได้ดีเต็มที่เหมือนผู้ใหญ่
    • มีการแตกหักของฐานกะโหลกศีรษะ (basal skull fractures) และ / หรือ มีการรั่วของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid CSF leak or fistula)
    • มีการหมดสติไปนานกว่า 10 นาที
    • ผู้ป่วยที่ขาดผู้เฝ้าดูแลสังเกตอาการหลังได้รับบาดเจ็บต่อที่บ้านได้  หรือ ถ้าให้กลับบ้านแล้วไม่สามารถกลับมาโรงพยาบาลได้สะดวกเมื่อถึงคราวจำเป็น  กรณีดังกล่าวก็แนะนำให้รับตัวไว้  
    • อาการหรืออาการแสดงอื่นๆ ซึ่งอาจจะบ่งชี้ถึงการที่มีความดันภายในกะโหลกศีรษะสูง หรือ  สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของอวัยวะอื่นร่วมด้วย

    ในผู้ป่วยที่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์ ให้กลับบ้านได้ ต้องให้คำอธิบายพร้อมทั้งใบแนะนำสังเกตอาการ และข้อควรปฏิบัติจากทางโรงพยาบาล ( คำแนะนำดูได้จาก Appendix 2)


ข้อบ่งชี้สำหรับการรักษาโดยการผ่าตัด (Indications for surgical treatment)

  1. Clinical syndromes of herniation with and without CT scan show corresponding mass effect
  2. Moderate and severe head injury with CT scan show significant mass effect * ( ดูรายละเอียดใน appendix 3)
  3. Clinical syndromes of increase intracranial pressure with CT scan show significance mass effect
     
  4. Compound depressed skull fracture
     
  5. Penetrating cranial injury
     
  6. Close depressed skull fracture * (appendix 4)
     
  7. Optic nerve compression * (appendix 5)
     
  8. Post traumatic hydrocephalus
     
  9. Persistent CSF rhinorrhea and otorrhea (over 2 weeks)

การส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ (Refer and Transfer)

  1. ควรให้การรักษาเบื้องต้นก่อนส่งมาโรงพยาบาล (Pre-hospital care) ซึ่งจะช่วยให้การขนส่งผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัย  
    • มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่กู้ภัยหรือเจ้าหน้าที่พยาบาล ณ จุดเกิดเหตุให้มีความรู้ความสามารถ
    • เจ้าหน้าที่ควรต้องมีความสามารถในการดูแลสิ่งต่อไปนี้คือ
      • ดูแลทางเดินหายใจ Airway ไม่ให้ติดขัด
      • ให้ผู้ป่วยได้รับอ็อกซิเจนอย่างเพียงพอ
      • ให้น้ำเกลือในระยะเริ่มต้น
      • Stabilization กระดูกสันหลังส่วนคอและส่วนหลัง
      • Identifying and stabilizing extracranial injury
      • ประเมินภาวะความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเมื่อแรกพบ และการเปลี่ยนแปลง
  2. การลำเลียงผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุไปยังโรงพยาบาล
    • ทำการติดต่อล่วงหน้ากับโรงพยาบาลที่จะรับส่งต่อรวมทั้งการเตรียมบุคลากร
    • Patient stabilized and monitored
    • Appropriate equipment
    • Appropriate medical  personnel
  3. การส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลหนึ่งไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการดูแลรักษาต่อเนื่อง  ตลอดจนถึงขีดความสามารถในการตรวจวิเคราะห์และผ่าตัดรักษา  ทำเช่นเดียวกันคือ แก้ไขสภาพทั่วไปของผู้ป่วย  พร้อมทั้งบันทึกความรู้สึกตัว  การตรวจระบบประสาท ที่ตรวจพบในขณะรับผู้ป่วย  และการเปลี่ยนแปลง

 การดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในระยะพักฟื้น  อาศัยหลักของเวชศาสตร์ฟื้นฟู  ซึ่งประกอบด้วย

  1. เวชศาสตร์ฟื้นฟูในโรงพยาบาล
    • เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน (ในระบบประสาท และในอวัยวะอื่น) จากผลของการบาดเจ็บที่ศีรษะ อาทิ เช่น การทำเวชศาสตร์ฟื้นฟูของปอด เพื่อรักษาหรือป้องกันปอดบวม เป็นต้น
    • เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจ ให้สามารถกลับไปสู่การทำงานหรือดำเนินชีวิตในสังคม
  2. เวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังจากออกจากโรงพยาบาล  (outpatient) ทั้งนี้ เรื่องของระยะเวลา และความจำเป็นต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ โดยต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะหลัง  ภายหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ

  • Skull defect: Rationale cerebral protection and appearance indications for cranioplasty
    1. Defect from growing skull fracture
    2. Larger than 4 cm in diameter or any size in the frontal region
    3. Age over 3 years
    4. No evidence of infection more than 6 months after compound wound
    5. Post craniectomy syndrome
    6. Post traumatic syndrome (Appendix 6)
      • Headache
      • Psychological and somatic complaint
      • Cognitive impairment
      • Cranial nerve symptoms and signs
  • Seizure and abnormal movement (Appendix 7)
    • Sequelae after head injury that need surgical treatment
    • Subdural and epidural collections such as chronic subdural hematoma etc.  
    • C-C fistula, traumatic AV fistula and aneurysm
    • CSF fistula
    • cranial deformities
    • hydrocephalus
    • post traumatic intracranial infection such as brain abcess etc.

เวชระเบียนและสถิติ

เพื่อให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างเป็นระบบ มีระเบียบ  ใช้ในการอ้างอิง หรือศึกษาเพื่อหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษา  แนะนำดังนี้

  • ใช้การรายงานตาม ICD 10
  • หากเพิ่มการรายงาน Glasgow Coma Scale (GCS) ของผู้ป่วยทุกรายและสรุปรายงานในผู้ป่วยที่เสียชีวิต ก็จะเกิดประโยชน์ในทางสถิติมากขึ้น อีกทั้งในการทำ quality assurance ต่อไป  

APPENDIX 1 : The Glasgow Coma Scale (GCS)

Glasgow Coma Scale (GCS)

เป็นเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในทางปฏิบัติสำหรับประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาทว่ามีความผิดปกติหรือไม่  เพียงใด  การประเมินแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  แต่ละส่วนมีการให้คะแนนในระดับที่แตกต่างกัน

GLASGOW COMA SCALE
Eye opening     E
Best motor response    M
Best verbal response    V

  -  Spontaneous      4
  -  To speech     3
  -  To pain only     2
  -  No eye opening    1

  -  Obey commands appropriately   6
  -  Localizes to pain stimulation   5
  -  Withdraws from pain stimulation  4
  -  Abnormal flexion response   3
  -  Abnormal extension response   2
  -  No motor response    1

  -  Oriented and appropriate   5
  -  Confused conversation   4
  -  Inappropriate words    3
  -  Incomprehensible sounds   2
  -  No verbal response    1
คะแนนรวม   =    คะแนนตัวเลขในแต่ละกลุ่ม 3 กลุ่ม E + M + V
คะแนนเต็ม   =    15


APPENDIX 2 : แบบตัวอย่างคำแนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ

แพทย์ได้ทำการตรวจผู้ป่วยแล้ว มีความเห็นว่า การบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งผู้ป่วยได้รับขณะนี้ ยังไม่มีอาการที่บ่งบอกความรุนแรงถึงขนาดจะต้องรับไว้ในโรงพยาบาล จึงแนะนำให้ผู้ป่วยพักรักษาตัวต่อที่บ้าน โดยให้งดการออกกำลังทุกชนิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง รับประทานอาหารอ่อน และงดดื่มสุราและยาที่ทำให้ง่วงซึมทุกชนิด
 

ถ้ามีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยในระหว่างนี้ ให้ทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง  ควรมีผู้อื่นอยู่กับผู้ป่วยด้วยเพื่อคอยดูแล โดยเฉพาะในเด็กต้องมีผู้ดูแลสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และควรปลุกเด็กหรือผู้ป่วยประมาณทุก 2-4 ชั่วโมง เพื่อดูอาการว่าความรู้สึกตัวเลวลงหรือไม่
 

อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยมีอาการตามข้อใดข้อหนึ่งที่บ่งไว้ข้างล่างนี้ ขอให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที เพื่อรับการตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง อาการดังกล่าว ได้แก่

  1. ง่วงซึมมากขึ้นกว่าเดิม หรือไม่รู้สึกตัว หมดสติ
  2. กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก หรือมีอาการชักกระตุ
  3. กำลังของแขนและขาลดน้อยลงกว่าเดิม
  4. ชีพจรเต้นช้ามาก หรือมีไข้สูง
  5. คลื่นไส้มาก อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
  6. ปวดศีรษะรุนแรง โดยไม่ทุเลา
  7. มีเลือดใสๆ หรือน้ำใสออกจากหู หรือลงคอ หรือออกจากหู ( ถ้ามี ไม่ควรพยายามเช็ด หรือสั่งออก )
  8. คอแข็ง
  9. วิงเวียนมาก หรือมองเห็นภาพพร่า ปวดตุบๆ ในลูกตา
  10. อาการอื่นๆ ซึ่งผิดแปลกออกไปจากเดิม เป็นที่น่าสงสัย

APPENDIX 3 : Significant mass effect

ผลที่เกิดจากการมีพยาธิสภาพที่เป็นสิ่งกินที่ภายในกะโหลกศีรษะที่จะมีนัยสำคัญ  พิจารณาได้จากความผิดปกติที่พบจากการตรวจด้วย CT scan  ดังต่อไปนี้

  • Midline shift of 5 mm or more
  • Marked effacement of ventricle and / or basilar cistern
            (in cases of bilateral  supratentorial or posterior fossa mass lesions)
  • Intracranial mass of 3 cm. in diameter or more

APPENDIX 4 :
ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยที่มีกะโหลกศีรษะแตกชนิด closed depressed fracture
(Indication for operative treatment in closed depressed skull fracture)

  1. For decompression of large depressed fragments causing significant pressure effect   and / or  neurological deficit
  2. To repair dural defect under depressed bone fragment
  3. For cosmetic reason

APPENDIX  5 :
ข้อบ่งชี้สำหรับผ่าตัดรักษาในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ประสาทตา
(Indications for operative treatment in optic nerve injury)

  1. Progressive deterioration of visual function after medical treatment
  2. Optic nerve dysfunction with evidence of optic nerve compression with no improvement after medical treatment

APPENDIX  6 : POST TRAUMATIC SYNDROME

Headaches

  • Muscle contraction type
  • Migraine
  • Cluster
  • Occipital neuralgia
  • Supraorbital and infraorbital neuralgia
  • Secondary to neck injury
  • Secondary to temporomandibular joint syndrome
  • Due to scalp laceration or local trauma
  • Mixed

Cranial nerve symptoms and signs

  • Dizziness
  • Vertigo
  • Tinnitus
  • Hearing loss
  • Blurred vision
  • Diplopia
  • Convergence insufficiency
  • Light and noise sensitivity
  • Diminished taste and smell

Psychological and somatic complaints

  • Irritability
  • Anxiety
  • Depression
  • Personality change
  • Fatique
  • Sleep disturbance
  • Decreased libido
  • Decreased appetite

Cognitive impairment

  • Memory dysfunction
  • Impaired concentration and attention
  • Slowing of reaction time
  • Slowing of information processing speed

APPENDIX  7 : Treatment of Seizure and abnormal movement

  • Antiepileptic Prophylaxis  ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะทั่วไป ไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยากันชักเพื่อป้องกัน late post traumatic epilepsy ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติโรคลมชัก บาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง subdural hematoma, intracranial hematoma, cerebral contussion, compound depressed skull fracture ฯลฯ
  • การให้ยา Antiepileptic treatment ให้ตามความเหมาะสม ทั้งขนาด ชนิด และระยะเวลาที่ให้ยา

APPENDIX  8 : คณะผู้จัดทำแนวทางมาตรฐานการรักษาพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ

  1. ศ.นพ.จเร ผลประเสริฐ  นายกสมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย
  2. นพ.สุพัฒน์ โอเจริญ   เหรัญญิกสมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย
  3. รศ.นพ.ประเสริฐ     ศัลย์วิวรรธน์ กรรมการกลางสมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย  
  4. นอ.นพ.ศุภโชค  จิตรวาณิช ประธานคณะอนุกรรมการโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐาน  การรักษาพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
  5. นพ.พรินทร์  มหัทธโน  อนุกรรมการโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานฯ
  6. นพ.เอกฤทธิ์  คุณศรีรักษ์สกุล อนุกรรมการโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานฯ
  7. นพ.นันนทศักดิ์  ทิศาวิภาค อนุกรรมการโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานฯ
  8. นพ.สิรรุจน์  สกุลณะมรรคา อนุกรรมการโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานฯ
  9. นอ.นพ.สุชิน  บุญมา  เลขานุการคณะอนุกรรมการโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานฯ  
  10. นต.นพ.ยอดรัก  ประเสริฐ  ผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมการโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานฯ

References

  1. AANS Publications Committee : Neurosurgical Emergency. Vol. 1 Neurosurgical Topics
  2. Becker, Donald P : Textbook of Head Injury.  W.B. Saunders Company 1989.  
  3. Chesnur RM, Marshall LF, Klauber MR, et al.  The role of secondary brain injury in  determining outcome from severe head injury. Trauma 1993;34:216-22.
  4. Counsell CE, Fraser H, Sandercock PAG.  Archie Cochrane's challenge:can periodically updated reviews of all randomised controlled trials relevant to neurology and  neurosurgery be produced? Neurol Neurosurg Psychiatry 1994;57:529-33.
  5. Ghajar J, Hariri RJ, Narayan RK, et al.  Survey of critical care management of comatose,   head injured patients in the United States. Crit Care Med 1995;23:560-7.
  6. Julian R Youmans. -4th ed.:Neurological Surgery: W.B. Saunders Company 1996.
  7. Kirkpatrick PJ, Czosnyka M, Pickard J.  Multimodality monitoring in neurointensive  care. Neurol Neurosurg Psychiatry 1996;60:131-9.
  8. Paul R Cooper, Editor -3rd ed.:Head Injury.  Williams & Wilkins 1993.  
  9. Pickard JD, Czosnyka M. Management of raised intracranial pressure. Neurol   Neurosurg  Psychiatry 1993;66:845-58.
  10. Pigula FA, Wald SL, Shackford SR, et al.  The effect of hypotension and hypoxia on   children with severe head injuries. Pediatr Surg 1993;28:310-4.
  11. Robert H.  Wilkins, Setti S, Rengachary -2nd ed.:Neurosurgery:McGraw Hill Companies 1996.
  12. Sharon Bowrers, Marsha. (et al) : Pathophysiology and Patient Management Neuroscience Critical Care. 1990.
  13. Sheinberg M, Kanter MJ, Robertson CS, Contant CF, Narayan RK, Grossman RG. Continous monitoring of jugular venous oxygen saturation in head injured patients.  Neurosurg 1992;72:212-7.